การเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

 

     

 

 

 

 

          ขอขอบคุณ พี่ๆ หน่วยซีล และ พี่ทีมงานทุกท่าน ที่ได้เสียสละช่วยพาหมูป่า ออกมาอย่างปลอดภัย และขอแสดงความดีใจกับ น้องๆ และครอบครัว

ที่จะได้พบหน้ากันเป็นอีกหนึ่งบทเรียนล้ำค่า ที่องค์การต่างๆ ควรที่จะนำมาศึกษาถึงเรื่องการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อาจจะเกิดขึ้น

ทั้งที่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และที่ยังไม่ได้คาดการณ์ (คาดไม่ถึง) ว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆ แล้ว ที่ได้เตรียมการไว้นั้น สามารถจัดการ

กับสถานการณ์นั้นได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะหากเป็นสถานการณ์ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย จะมั่นใจได้หรือไม่ว่าได้มีการเตรียมการไว้อย่างเพียงพอ เหมาะสม

 

หากกล่าวถึงการจัดการกับสถานการณ์ ฉุกเฉินอย่างเป็นระบบแล้ว ควรที่จะมีมาตรฐานการปฏิบัติงานดังนี้

1. การคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ โดยจะมี ขั้นตอนย่อยอีก 3 ขั้นตอนคือ

a. การประเมินสถานการณ์

b. การจัดลำดับความสำคัญของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

c. การสรุปผลการวิเคราะห์

 

2. การป้องกันการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน โดย

a. จัดเตรียมอุปกรณ์

b. กำหนดผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบ

 

3. การเตรียมแผนการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยต้องคำนึง

a. กำหนดผู้อำนวยการ สั่งการ เพื่อควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย (ในประเด็นนี้จะเห็นว่า ท่านผู้ว่า ณรงศักดิ์ ได้แสดงให้ถึงบทบาทผู้นำ

อย่างสมบูรณ์แบบ)

b. การกำหนดขั้นตอนการตอบสนอง การประสานงาน

c. การเตรียมทักษะความสามารถของทีมงาน เช่น ทีมค้นหา ทีมช่วยเหลือ ทีมปฐมพยาบาล ทีมประเมินสถานการณ์ ทีมประสาน เป็นต้น

d. การจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อาทิเช่น ถังดับเพลิแบบมือถือ, สายส่งน้ำดับเพลิง, ชุดล้างตาล้างตัวฉุกเฉินเป็นต้น

e. ข้อมูลการติดต่อประสานงานที่สำคัญ เช่น เบอร์โทร กู้ภัย, โรงพยาบาล, สถานีตำรวจ, อปพร. เป็นต้น

 

4. การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์

 เตือนภัยและอุปกรณ์ระงับเหตุต่างๆ ให้มีความพร้อม สำหรับการใช้งาน เช่นการทดสอบเดินระบบปั้มน้ำฉุกเฉิน,

การตรวจถังดับเพลิงแบบมือถือ, การตรวจอุปกรณ์อุปกรณ์ดักจับควัน เป็นต้น

 

5. การซักซ้อม ทบทวน แผนงานต่างๆ ให้มีความพร้อม

เพื่อให้มั่นว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงแล้ว แผนงานที่เตรียมการไว้จะเพียงพอ เหมาะสม ใช้งานได้จริงจึงควรมีการซักซ้อมการตอบสนอง

เสมือนจริง บันทึกรายงานการซ้อม ปัญหาที่เจอ ระหว่างการซักซ้อม ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงระบบการป้องกันและแผน

การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนไม่ต้องการเห็นความสูญเสีย จากเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก การป้องกันการเกิดเหตุ

ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด แต่หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง ความรวดเร็วในการเข้าควบคุมสถานการณ์และเร่งดำเนินการแก้ไข บรรเทาเหตุ

ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมการ มีแผนงาน อย่างรัดกุม หมั่นทบทวนแผนและซักซ้อมให้เกิดความพร้อม

อยู่ตลอดเวลา

 

อาณัติ น้อมเศียร

 


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 100,556